พระผงพุทธนิมิตร (ผงพรายล้วน) สำนักพุทธนิมิตร
พระโหงพราย รุ่นนี้ ถือเป็นยอดวัตถุมงคลอีกหนึ่งรุ่นที่กระผมตั้งใจจัดสร้าง รวบรวมมวลสาร ว่านยา สิ่งของอาถรรพ์ ตามตำรา ตามคำบอกกล่าวครูอาจารย์นำมาจัดสร้างพระโหงพรายในครั้งนี้.
มวลสารสำคัญในการจัดในครั้งนี้ คือผงพรายกุมารอันลือชื่อของภาคใต้ ผงพรายกุมารวัดควนนาแค จังหวัดตรัง ซึ่งกระผมได้รับความเมตตาจากพระครูประยุตอัครธรรม เจ้าอาวาสวัดควนนาแค ได้มอบมวลสารผงพรายกุมาร แก่กระผมเพื่อใช้จัดสร้างพระผงโหงพรายในครั้งนี้
ผงพราย ๑๐๐ ตน ของอาจารย์บอย ซึ่งถือว่าเป็นอาจารย์ฆราวาสที่ขึ้นชื่อด้านสายเฮี้ยน สายพราย ได้มอบผงพราย ๑๐๐ ตน แก่กระผมในการจัดสร้างพระขุนแผนโหงพรายในครั้งนี้
และมวลสารอาถรรพ์ต่างๆ ที่นำมาจัดสร้างพระขุนแผนฯ ชุดนี้ เช่น
โป่งช้าง
โป่งกระทิง
โป่งหมู่ป่า
โป่งกวาง
โป่งผีเสื้อ
ดินเจ็ดป่าช้า
ดินเจ็ดปลวก
ดินเจ็ดท่า
ดินเจ็ดตลาด
ดินเจ็ดโป่ง
ดินเจ็ดรูปู
ดินเจ็ดนา
ตะไคร่โบสถ์เจ็ดโบสถ์
ตะไคร่เจดีย์เจ็ดเจดีย์
ตะไคร่พัทธสีมา เจ็ดที่
ตะไคร่พระศรีมหาโพธิ์เจ็ดโพธิ์
และ มวลสารว่านยาฝ่ายเสน่ห์เมตตามหานิยมอีก นับ ๑๐๐ ชนิด.
เมื่อวันจันทร์ ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
ตรงกับแรม ๓ คํ่า (( จันทร์ ๓ )) เดือน ๑๒ ปีมะโรง
กระผมได้จัดมณฑลพิธี เตรียมเครื่องบูชา เครื่องกระยาบวช อาหารหวานคาว บวงสรวงบอกล่าวทวยเทพเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ครูบาอาจารย์ ในนำฤกษ์กดพระขุนแผนโหงพราย ณ.อุโบสถวัดประดู่หอม จังหวัดพัทลุง
การกำหนดฤกษ์ยามกระผมได้ยึดใช้ศาตร์วิชาของสำนักตักศิลาเขาอ้อ ใช้วันจันทร์ ๓ ซึ่งดิถี อุดมมงคลฤกษ์ เป็นอำมฤคโชค ชัยโชค ราชาโชค ตามโบราณถือเป็นวันดียิ่งในงานการมงคล ทำฝ่ายเสน่ห์เมตตามหาลาภ มหานิยม
เมื่อได้ฤกษ์ยามตามตำรา ได้รับความเมตตาจากพระครูกาชาด เจ้าอาวาสวัดประดู่หอม จุดเทียนชัยเป็นปฐมฤกษ์มงคล และ ประกอบพลียกรรม พลีมวลสาร ผสมเนื้อมวลสารกดพิมพ์พระกดมือแบบโบราณ.
พระผงโหงพรายพุทธนิมิตรชุดนี้ กระผม(อ.เฉลิมชัย)ได้อธิฐานจิต ปลุกเสก ตามอุดมมงคลฤกษ์มาโดยตลอด และ จะประกอบพิธีปลุกเสกใหญ่ตามแบบแผนสายวิชาเขาอ้อในวันที่6-8กุมภาพัน 68
ตรงกับพฤหัสบดี ขึ้น9ค่ำเดือน3 เป็น สิทธิโชค
วันศุกร์ขึ้น10ค่ำเดือน3 เป็น มหาสิทธิโชค
วันเสาร์ขึ้น11ค่ำเดือน3 เป็น ชัยโชค
เป็นวาระปิดท้าย.
*เรื่องราวเก่าก่อนจะมาเป็นพระผงพราย*
วิชาผงพรายสาย"มโนรา"พรายใต้สายเฮี้ยน
วิชาผงพรายสายใต้โบราณในสมัยก่อน
วิชานี้จะอยู่คู่กับมโนรา สมัยก่อนเค้านิยมทำอุดใส่ในไม้โพธิ์ ไม้รัก ไม้ชุมแสง แกะเป็นพระภควัมปติ หรือ พระปิดตา บ้างก็บดเป็นผงผสมยาเสน่ปั้นเป็นแท่ง มีใว้เพื่อป้องกันโรงมโนราห์จากภัยอันตรายจากสิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น และยังเสริมความมีเสน่ห์เมตตามหานิยมชมชอบให้แก่โรงมโนราห์นั้นๆอีกด้วย
พรายที่นิยมใช้ได้แก่
พรายตายโหง
พรายตายฟ้าผ่า
พรายตายเงิ้งผลา
พรายกุมาร
พรายตายท้องกลม
พรายตายด้วยพระเพชรฉลูกันณ์
พรายตายด้วยตกบ่อน้ำ
ในตำรายาขนานนี้เป็นเสน่ห์ ให้เอากระดูกผีพราย ผีตายโหง ตะไคร้หลักช้าง ตะไคร้โพธิ์ ตะไคร้เสมา ตะไคร้เจดีย์ ตะไคร้หัวบันใด บดผสมอัดเป็นแท่ง (จริงๆต้องใช้มากกว่านี้แต่อาจจารย์ไม่ให้ลงหมด) เวลาทำให้ออกชื่อ ขุนศรัทธา
ปัจจุบันวิชานี้ก็ได้มีการปรับรูปแบบจากเดิมนำมาสร้างเป็นพระเครื่อง หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า พระผงกระดูกผี หรือ พระผงพราย
ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะสร้างพระชนิดนี้ มวลสารต้องเข้ายาพรายจริงๆ จะไม่ใช้มวลสารที่ลดทอนกำลังพราย เช่น วัตถุประเภททนสิทธิ์บางชนิด ว่านบางอย่าง และพวกที่เป็นแร่ที่ให้คุณทางด้านล้างอาถรรพ์ เช่น เหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ เป็นต้น จึงถือว่าเข้ายาพรายจริงๆ
#อาจารย์เฉลิมชัย_พุทธนิมิตร
#ขุนแผนพรายชุมพล #ขุนแผนอาจารย์เฉลิมชัย_มลวิเชียร #ผงพรายใต้